ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
ประวัติความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้โปรดเกล้าให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๘ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน ปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ เวลา ๖.๕๔ นาฬิกา การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตามพระตำราที่เรียกว่า พระราชพิธีนครฐาน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา ๒๙ เซนติเมตร สูง ๑๘๗ นิ้ว กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน ๑๐๘ นิ้ว ฝังลงในดินลึก ๗๙ นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดเกล้าให้ขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด เป็นแกนไม้สัก ประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ๖ แผ่น สูง ๑๐๘ นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง ๗๐ นิ้ว บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า ๕ เมตร และอัญเชิญหลักเมืองเดิม และหลักเมืองใหม่ ประดิษฐานในอาคารศาลหลักเมืองที่สร้างใหม่ มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาว ได้แบบอย่างจากศาลหลักเมืองกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๕
ศาลหลักเมืองได้รับการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ เพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะอย่างสวยงาม ด้านทิศเหนือจัดสร้างซุ้มสำหรับประดิษฐานเทพารักษ์ทั้ง ๕ คือเจ้าพ่อหอกลอง เจ้าพ่อเจตคุปต์ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระกาฬไชยศรี มีการจัดละครรำ ละครชาตรี ให้ผู้ต้องการบูชา ว่าจ้างรำบูชาศาลหลักเมืองอยู่ด้านข้าง
ตำนานสืบสานประวัติศาสตร์
ครั้งโบราณถือว่าพิธีสร้างพระนคร หรือสร้างบ้าน สร้างเมือง จะศักดิ์สิทธิ์ต้องทำพิธีฝังอาถรรพ์ ๔ ประตูเมือง และต้องฝังเสาหลักเมืองแม้เสามหาปราสาทก็เช่นกัน การฝังอาถรรพ์ กระทำด้วยการป่าวร้องรียกผู้คนที่มีชื่อ อิน, จัน, มั่น และคง ไปทั่วเมือง เมื่อชาวเมืองเคราะห์ร้ายขานรับ ก็จะถูกนำตัวมาสถานที่ทำพิธี และถูกจับฝังลงหลุมเป็นๆ ทั้ง ๔ คน เพื่อให้ดวงวิญญาณของคนเหล่านั้นอยู่เฝ้าหลักเมือง เฝ้าปราสาท และประตูเมือง คอยคุ้มครองบ้านเมือง.. ป้องกันอริราชศัตรูและปัดเป่าโรคภัยมิให้เกิดแก่คนในนคร เรื่องราวเช่นนี้ มีเล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
แม้ในการตั้งเสาหลักเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร ก็ยังมีการกล่าวถึงว่าเมื่อครั้งพระบามทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้ตั้งพิธียกเสาหลักเมือง เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ สร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ราษฎรและเพื่อเป็นนิมิหมายแสดงที่ตั้งแห่งพระนคร เมื่อวันที่ ๒๑ เดือนเมษายน ปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ ซึ่งเสาหลักเมืองที่ใช้เป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์ ที่ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลาง ๗๕ เซนติเมตร สูง ๒๗ เซนติเมตร ที่มีความสูง ๑๘๗ นิ้ว และบรรจุดวงเมืองไว้ที่ยอดเสารูปบัวตูมบรรจุดวงชะตาของกรุงเทพฯ
ได้มีการสร้างเสาหลักเมืองใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แทนของเดิมที่ชำรุดเป็นไม้ชัยพฤกษ์สูง ๑๐๘ นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง ๗๐ นิ้วมีอาคารยอดปรางค์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ในครั้งนั้นเล่ากันเป็นเรื่องพิสดารว่าก่อนตั้งเสาหลักเมือง พราหมณ์ได้ถือเอาฤกษ์ตามวันเวลา ภายในศาลหลักเมืองยังมีเทวรูปเจ้าพ่อสำคัญอีก ๕ องค์ คือ เทพารักษ์ เจ้า พ่อหอกลอง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าพ่อเจตคุปต์ และพระกาฬไชยศรี
ซึ่งหญิงมีครรภ์จะเดินเข้ามาใกล้ปากหลุม ครั้งถึงวันเวลานั้น หญิงมีครรภ์คนหนึ่งเดินมาใกล้ปากหลุมจึงถูกผลักลงหลุมไป และทำพิธีตั้งเสาหลักเมืองฝังร่างหญิงคนนั้นไว้กับเสา เรื่องราวน่าเวทนาที่ใช้ชีวิตคนเป็นๆ ฝังไว้กับเสานี้ ไม่มีข้อมูลใดๆ มายืนยัน คงเป็นแต่เพียงเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาแม้ในพงศาวดารก็ไม่มีบันทึก ด้วยการตั้งเสาหลักเมืองถือเป็นพิธีมหามงคล ซึ่งพระมหากษัตริย์กระทำเพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎร การนำชีวิตผู้คนมาฝังทั้งเป็น ซึ่งไม่ใช่เรื่องมงคลจึงไม่น่าเป็นเรื่องจริง แต่อาจเป็นด้วยกาลเวลาหรือผู้เล่าเห็นแปลกในการประกอบพิธีกรรมอย่างพราหมณ์จึงแต่งเติมเรื่องราว ให้ดูแปลกไปเหมือนอย่างนิยายปรัมปรา
ในกาลต่อมา เมื่อเสาหลักเมืองและตัวศาลเริ่มชำรุดด้วยกาลเวลาที่ล่วงไป จนลุเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระองค์ผู้ทรงปรีชาชาญในด้านโหราศาสตร์ ได้ตรวจดวงชะตาบ้านเมือง และพบว่าดวงชะตาของพระองค์เป็นอริแก่ลัคนาดวงเมือง จึงโปรดเกล้าให้ขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดทำเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ ด้วยแกนไม้สักประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ๖ แผ่น บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า ๕ เมตร และอัญเชิญหลักเมืองเดิม และหลักเมืองใหม่ประดิษฐานในศาลใหม่ที่มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาว เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๕
จากนั้นมา ศาลหลักเมืองก็ได้รับการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง จวบจนปัจจุบัน ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะอย่างสวยงามภายในตัวมณฑปด้านทิศเหนือได้ถูกจัดสร้างเป็นซุ้มสำหรับประดิษฐานเทพารักษ์ทั้ง ๕ คือ เจ้าพ่อหอกลอง, เจ้าพ่อเจตคุปต์, พระเสื้อเมือง, พระทรงเมือง, และพระกาฬไชยศรี โดยมีเสาหลักเมืองในรัชกาลที่ ๔ ตั้งอยู่ด้านหน้า และเสาหลักเมืองในรัชกาลที่ ๑ ตั้งอยู่ทางช่องประตูมุขขวา ในวันนี้ เสียงลือเสียงเล่าถึงเรื่องราวของผู้สังเวยชีวิตที่ก้นหลุมเสาหลักเมือง ได้ลางเลือนไปตามวันเวลา เป็นเรื่องเล่าปรัมปราที่ยังไร้เหตุแห่งความจริง
คงเหลือไว้เพียงภาพปัจจุบัน ของความเชื่อถือศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์แห่งเสาหลักเมือง ซึ่งอยู่ภายในศาล ที่ผู้คนยังคงแห่แหนจากทั่วสารทิศ นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อพึ่งพาอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้คอยปกปักรักษา ปกป้องคุ้มภัย