วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

ขันลงหิน






ชุมชนบ้านบุ

แหล่งทำขันลงหิน


แหล่งทำขันลงหินบ้านบุ


การทำขันลงหินเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่สืบทอดกันมา เป็นงานที่ใช้แรงงานเกือบทั้งหมด ระยะหลังได้ใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยในขั้นตอนขัดครั้งสุดท้าย เล่ากันว่าครอบครัวที่ทำมีต้นตระกูลมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกได้อพยพมาอยู่ที่บางลำพู ภายหลังได้ย้ายมายังบ้านบุ
สมัยก่อนจะใช้ทองม้าล่อที่เป็นทองจากเมืองจีนหลอมเป็นเนื้อขัน ปัจจุบันใช้ทองแดงผสมดีบุกกับเศษทองที่เหลือจากขันเก่า ซึ่งเชื่อว่ามีทองม้าล่อ
เจือปนอยู่ ผสมโลหะ ๓ ชนิด ตามอัตราส่วนใส่ในเบ้าหลอมรูปถ้วยที่ทำจากดินผสมแกลบ นำไปหลอมให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วเทออกเป็นแผ่นกลมในเบ้าที่มีน้ำหล่ออยู่ เอาขึ้นเผาไฟอีกครั้ง เมื่อได้ที่แล้วจึงใช้ค้อนตีแผ่ให้เสมอจนขึ้นเป็นรูปขัน นำไปตีลาย แล้วกลึงด้วยเครื่องกลึงที่เรียกว่า “ภระมร” จากนั้นเป็น

การขัดเงา สมัยก่อนใช้หินละเอียดผสมน้ำห่อผ้าใส่ในขันแล้วเหยียบหรือคลึง ขัดลบรอยในขันจนขึ้นเงาเรียกวิธีนี้ว่า “ลงหิน” ปัจจุบันใช้เบ้าหลอมที่หลอมส่วนผสมตั้งแต่ต้นทุบให้ละเอียด ผสมน้ำแล้วห่อผ้าลงใช้ขัดแทน เรียกว่า “เหยียบเบ้า”
ปัจจุบันขันลงหินมักจะถูกเก็บรักษาไว้เป็นเครื่องตกแต่งบ้านในลักษณะประเพณีมากกว่าจะใช้ในชีวิตประจำวัน และยังเป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศ