วัดอรุณราชวราราม วรมหาวิหาร
ประวัติความเป็นมา
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี ถนนอรุณอัมรินทร์ เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดแจ้ง ต่อมาเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีย้ายพระราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้งอยู่ ณ กรุงธนบุรี ได้โปรดฯ ให้กำหนดเอาวัดแจ้งเป็นวัดในเขตพระ ราชฐาน ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ ได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ วัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 เมื่อบูรณะเสร็จ แล้วได้พระราชทานนามว่า วัดอรุณราชธาราม หรือวัดแจ้ง มีจุดเด่นที่น่าสนใจ คือ พระปรางค์องค์ใหญ่ ซึ่งมีความสูง 82 เมตร กว้าง 234 เมตร เริ่มก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 เสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดอรุณราชวราราม" จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นวรมหาวิหาร เรียกชื่อเต็มว่า "วัดอรุณราชวรมหาวิหาร"
วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี มีชื่อเรียกเดิมว่า วัดมะกอก สมัยกรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุร ีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น วัดแจ้ง สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อวัดจากวัดมะกอกมาเป็นวัดแจ้งก็เพราะว่า เมื่อสมัยที่พระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ปราบศัตรูที่อยุธยาและคนไทยมีอิสระภาพขึ้นดังเดิมแล้ว แต่ไม่สามารถจะตั้งอาศัยอยู่ ณ ราชธานีเดิม คือกรุงเก่าต่อมาได้ จึงพากันล่องลงมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อหาที่ตั้งราชธานีใหม่ พอลงมาถึงหน้าวัดมะกอกนี้ ก็พอดีรุ่งแจ้ง พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชดำริเห็นเป็นอุดมมหามงคลฤกษ์ จึงโปรดให้ยับยั้ง กระบวนผู้คน ให้เทียบเรือพระที่นั่งเข้ากับท่าน้ำ เสด็จขึ้นไปทรงสักการะบูชา พระมหาธาตุ คือพระพุทธปรางค์องค์เดิม ซึ่งประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำข้างหน้าวัด ต่อมาได้โปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด แล้วเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็นวัดแจ้งเพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เสด็จมาประทับอยู่ ณ พระราชวังเดิมข้างใต้วัดแจ้ง แต่เมื่อปีพ.ศ. ๒๓๒๘ ทรง มอบหน้าที่ให้บำรุงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่หมดทั้งวัด แต่การปฏิสังขรณ์ ทำได้สำเร็จเพียงกุฏีสงฆ์ ส่วนพระอุโบสถและพระวิหารยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นรัชกาลที่ ๑
ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อ โปรดให้สร้างพระอุโบสถ และพระวิหารต่อจากที่เริ่มสร้างไว้แล้วในสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่พระอุโบสถโปรดให้สร้างพระระเบียงล้อมรอบ การสร้งพระอุโบสถและพระวิหารเสร็จแล้ว ยังโปรดให้ บูรณะพระอุโบสถและพระวิหารเก่าหน้าพระปรางค์หน้าวัด กับสร้างศาลาการเปรียญขึ้น ๑ หลัง การปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ สำเร็จเรียบร้อย ก็มีการฉลองและพระราชทานนามวัดนี้ใหม่ว่า วัดอรุณราชวราราม ต่อมา ทรงมีพระราชศรัทธาที่จะสถาปนาพระมหาธาตุหรือพระพุทธปรางค์ข้างหน้าวัด ขึ้นใหม่ให้เป็นที่งามสง่า พระปรางค์เดิมสูงเพียง ๘ วา ทรงพระราชดำริว่าควรจะเสริมสร้างให้ใหญ่สูงเป็นพระมหาธาตุสำหรับพระนคร จึงโปรดให้กำหนดการลงมือขุดคลองรากทำเป็นฐาน แต่การยังไม่สำเร็จก็พอดีสิ้นรัชกาลที่ ๒ เสียก่อน
วัดอรุณราชวรารามเป็นวัดที่มีความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง เมื่อสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงสร้างพระราชวังขึ้นเป็นพระราชนิเวสสถานนั้น ได้ทรงเอากำแพงและป้อมวิชัยประสิทธิ์เป็นที่ตั้งพระราชวัง แล้วโปรดให้ขยายเขตพระราชวังขึ้นมาทางเหนือจนถึงคลองนครบาล เพราะฉะนั้นวัดแจ้งหรือวัดอรุณฯ จึงตกอยู่กลางพระราชวัง จึงให้ยกเว้นพระสงฆ์มิให้อยู่อาศัย วัดแจ้งจึงกลายเป็นวัดประเภท พุทธควาส อยู่สมัยหนึ่ง