วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
วัดสระเกศ อยู่นอกกำแพงเมือง ริมคลองมหานาค ตรงที่บรรจบกับคลองบางลำพู เดิมเป็นวัดเก่าชื่อ วัดสะแก ได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ทั้งพระอารามในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระราชทานนามว่า วัดสระเกศ ส่วนเจดีย์ภูเขาทองนั้นเริ่มสร้างในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงเลียนแบบมาจากภูเขาทองในสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วเสร็จในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานนามว่า "สุวรรณบรรพต" สูง 77 เมตร บนยอดสุวรรณบรรพต เป็นที่ตั้งของพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ขุดค้นพบที่เมืองกบิลพัสดุ์ และพิสูจน์ได้ว่าเป็นของพระสมณโคดมซึ่งเป็นส่วนแบ่งของ พระราชวงศ์ศากยราช เพรา ะมีคำจารึกอยู่ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ขณะนั้นกำลังทรงผนวชอยู่ที่อินเดีย จึงเสนอให้รัฐบาลอินเดีย โดย มาเควส เดอลัน อุปราชอังกฤษประจำประเทศ อินเดีย ส่งพระบรมสารีริกธาตุเข้ามาถวาย ในฐานะที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียว ที่เป็นพุทธมามกะอยู่ในขณะนั้น
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนาน เมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๓๒๕
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะและสร้าง พระบรมบรรพต หรือ ภูเขาทอง ทรงกำหนดให้เป็นพระปรางค์มีฐานย่อมุมไม้สิบสอง แต่สร้างไม่สำเร็จในรัชกาล เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ จึงทรงให้เปลี่ยนแบบเป็นภูเขาก่อพระเจดีย์ไว้บนยอด เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ การก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
พระเจดีย์บรมบรรพต
พระเจดีย์บรมบรรพตนี้ โดยมากเรียกกันว่า ภูเขาทอง สร้างเป็นรูปภูเขา มีพระเจดีย์อยู่บนยอด มีบันไดเวียนเ ป็นทางขึ้นไปถึงพระเจดีย์ ๒ ทางคือด้านเหนือทางหนึ่ง ด้านใต้ทางหนึ่ง สำหรับขึ้นและลงคนละทางเพื่อสะดวกในเวลาเทศกาล และยังมีบันไดตรงด้านใต้อีกทาง หนึ่งแต่บันไดตรงได้รื้อเสียเมื่อคราวบูรณะ ปฏิสังขรณ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ฐานโดยรอบวัดได้ ๘ เส้น ๕ วา ส่วนสูง ๑ เส้น ๑๙ วา ๒ ศอก บรมบรรพตนี้ นับว่าเป็นปูชนียสถานอันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา แห่งหนึ่ง และเป็นสมบัติทรงคุณค่าของชาติอีกด้วยการสร้างบรม บรรพตนี้ได้เริ่มขึ้นในรัชกาลที่ ๓ ด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราช ประสงค์จะสร้างพระเจดีย์ให้เหมือนอย่างวัดภูเขาทองในจังหวัดพระนครศรีอยุทธยา ซึ่งที่วัดภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นตั้งอยู่ที่ชายทุ่ง มีพระเจดีย์อยู่องค์หนึ่ง เป็นที่สำหรับชาวพระนครศรีอยุธยาลงไปประชุมเล่นเพลงและสักวาในเทศกาลประจำปี จุดประสงค์เดิมก็เพื่อจะไปนมัสการพระเจดีย์ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีการประชุมรื่นเริงโดยทาง เรือกันอยู่ทรงพิจารณาเห็นว่าที่วัดสระเกศเป็นสถานที่เหมาะสมจึงโปรดให้สมเด็จ พระบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองสร้างเมื่อแรกลงมือสร้างแล้ว พระราชทานนามว่า พระเจดีย์ภุเขาทอง